ประวัติความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติตำบลและสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตำบลบ้านสหกรณ์
เป็นตำบลที่จัดตั้งขึ้นเนื่องจากโครงการหมู่บ้าน
ซึ่งเป็นโครงการตามนัยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เริ่มเป็นหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตร เมื่อปี 2519 จดทะเบียนเป็นสหกรณ์การเกษตร
หมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง จำกัด เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2525 จัดตั้งเป็นตำบลโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี พ.ศ.2520 มีหมู่บ้านในการปกครอง 7 หมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ.2535 ตั้งหมู่บ้านหมู่ที่ 8 เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหมู่บ้าน
ซึ่งราษฎร หมู่ที่ 1 – 6 ล้วนเป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง
จำกัด ทั้งสิ้น
มีการบริหารปกครองตามรูปแบบการปกครองท้องที่ คือมี กม. กสต.
เต็มรูปแบบ ส่วนหมู่ที่ 7, 8 นั้น
เป็นหมู่บ้านนอกโครงการพระราชดำริ แต่เข้าเป็นสมาชิกเป็นบางส่วน
เดิมเป็นหมู่บ้านโป่งห้อม และหมู่บ้านโป่งนก หมู่ที่ 1 ตำบลออนเหนือ
และได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ในวันที่ 14 ธ.ค. 2542
2.1 สภาพทั่วไป
1.ที่ตั้งและอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสหกรณ์
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ออน ประมาณ 3 กิโลเมตร
และอยู่ห่างจากอำเภอเมือง 29 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 29 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 18,125 ไร่)
โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลห้วยแก้ว และตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลร้องวัวแดง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลออนเหนือ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด
2.ภูมิประเทศ
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบตามเนินเขา และพื้นที่ภูเขาสูง
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 380 เมตร
พื้นที่ส่วนใหญ่ราบลาดเอียงไปทางใต้ของตำบล
3.เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสหกรณ์
มีจำนวนหมู่บ้านในเขตพื้นที่จำนวน 8 หมู่บ้าน ได้แก่
• หมู่ที่ 1 บ้านสหกรณ์ 1 กำนัน นายประพันธ์ ใจติขะ
• หมู่ที่ 2 บ้านสหกรณ์ 2 ผู้ใหญ่บ้าน นายไวพจน์ นิสัยพราหมณ์
• หมู่ที่ 3 บ้านสหกรณ์ 3 ผู้ใหญ่บ้าน นายบุญส่ง ท้าวคำ
• หมู่ที่ 4 บ้านสหกรณ์ 4 ผู้ใหญ่บ้าน นายสมชัย พวงเงินมาก
• หมู่ที่ 5 บ้านสหกรณ์ 5 ผู้ใหญ่บ้าน นายทองสุข มาทา
• หมู่ที่ 6 บ้านสหกรณ์ 6 ผู้ใหญ่บ้าน นายสมนึก จิโน
• หมู่ที่ 7 บ้านโป่งห้อม ผู้ใหญ่บ้าน
นายทนงศักดิ์ อโนมา
• หมู่ที่ 8 บ้านโป่งนก ผู้ใหญ่บ้าน นายพิชัย
กันตีมูล
4.ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น จำนวน 3,155 คน
แยกเป็นชาย 1,571 คน แยกเป็นหญิง 1,584 คน
มีความหนาแน่นเฉลี่ย 103.06 คน/ตารางกิโลเมตร
จำนวน 1,006 ครัวเรือน
5.สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าวโพดอ่อน
ข้าว และเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ โค ปลาน้ำจืด เป็นต้น และอาชีพรองลงมา ได้แก่ ค้าขาย
รับจ้าง
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
• ธนาคาร - แห่ง
• โรงแรม/รีสอร์ท 2 แห่ง (รุ่งอรุณรีสอร์ท, น้ำพุร้อนสันกำแพง)
• ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 8 แห่ง (รวมปั๊มหลอด)
• โรงงานอุตสาหกรรม - แห่ง
• สหกรณ์ 1 แห่ง
(สหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง จำกัด)
• โรงโม่หิน 1 แห่ง
• สถานีบ่มใบยา 1 แห่ง
• โรงสีข้าว 1 แห่ง
• ร้านอาหาร/ร้านขายของชำ 38 แห่ง
• อู่ซ่อมรถ 3 แห่ง
6.สภาพสังคม
การศึกษา
• โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง
• โรงเรียนอาชีวศึกษา 1 แห่ง
• ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 4 แห่ง
• ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
• วัด / สำนักสงฆ์ 8 แห่ง
• โบสถ์ 1 แห่ง
การสาธารณสุข
• โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล / หมู่บ้าน 1 แห่ง
• โรงพยาบาลของรัฐขนาด 20 เตียง 1 แห่ง
• อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ 100
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
• สถานีตำรวจ / ป้อมยามตำรวจ 1 แห่ง
7.การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
การคมนาคมระหว่างบ้านในแต่ละหมู่บ้านเป็นถนนลูกรังและคอนกรีตเสริมไม้ไผ่
แต่การคมนาคมระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลาดยางค่อนข้างสะดวก
• คสล. 1 สาย รวมระยะทาง 584 เมตร
• คสม. 8 สาย รวมระยะทาง 7 กิโลเมตร
• ลาดยาง 8 สาย รวมระยะทาง 26+675.8 กิโลเมตร
• ลูกรัง / ดิน 8 สาย รวมระยะทาง 10+632.5 กิโลเมตร
การโทรคมนาคม
• ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข - แห่ง
• โทรศัพท์สาธารณะ 8 แห่ง
การไฟฟ้า
มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน แต่ยังไม่ทั่วถึงทุกหลังคาเรือน
เนื่องจากบางหลังคาเรือน ตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลจากชุมชนมาก ดังนั้น
จึงจำเป็นจะต้องขยายเขตไฟฟ้าไปยังผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนต่อไป มีใช้ทั้ง 8 หมู่บ้าน จำนวน 837 ครัวเรือน
แหล่งน้ำธรรมชาติ
• ลำน้ำ, ลำห้วย 5 สาย
• บึง, หนองและอื่น ๆ - แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
• ฝาย - แห่ง
• บ่อน้ำตื้น 180 แห่ง
• บ่อน้ำบาดาล 26 แห่ง
• อ่างเก็บน้ำ 17 แห่ง
8.ข้อมูลอื่น ๆ
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสหกรณ์
มีป่าไม้ค่อนข้างหนาแน่นและมีแร่หินรวมทั้งมีบ่อน้ำพุร้อนและถ้ำเมืองออน
ถ้ำเวียงฟ้าในหมู่ที่ 2
มวลชนจัดตั้ง
• อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 1 รุ่น 16 คน
• ลูกเสือชาวบ้าน - คน
• กลุ่มกีฬาประจำตำบล 20 คน
ศักยภาพในตำบล
ก.ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
(1) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน
(2) รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน
(3) เลขานุการนายก อบต. 1 คน
(4) สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 16 คน
(5) จำนวนบุคลากร 20 คน
พนักงานส่วนตำบล 10 คน
ตำแหน่งในสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 4 คน
ตำแหน่งในส่วนการคลัง 3 คน
ตำแหน่งในส่วนโยธา 2 คน
ตำแหน่งในส่วนการศึกษา 1 คน
ลูกจ้างประจำ - คน
ลูกจ้างชั่วคราว 12 คน
(6) ระดับการศึกษา
- ระดับการศึกษาผู้บริหาร/สมาชิกสภา
ประถม 5 คน
มัธยมศึกษา / อาชีวะศึกษา 13 คน
อนุปริญญา / ปวส. 1 คน
ปริญญาตรี 1 คน
- ระดับการศึกษาบุคลากรพนักงานส่วนตำบล
ประถมศึกษา - คน
มัธยมศึกษา / อาชีวะศึกษา 11 คน
อนุปริญญา / ปวส. 2 คน
ปริญญาตรี 7 คน
(7) รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 9,319,091.90 บาท
รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง 315,401.99 บาท
รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ เก็บให้ 2,281,806.31 บาท
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 5,161,800 บาท
เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ 1,560,083.60 บาท
ข.ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
(1) การรวมกลุ่มของประชาชน
จำนวนกลุ่มทุกประเภท 39 กลุ่ม แยกประเภทกลุ่ม
กลุ่มอาชีพ 14 กลุ่ม กลุ่มออมทรัพย์ 8 กลุ่ม
กลุ่มธนาคารหมู่บ้าน 6 กลุ่ม กลุ่มแม่บ้าน 4 กลุ่ม
กลุ่มเงินล้าน 8 กลุ่ม
(2) จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล)
อยู่ภายใต้โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งสามารถสร้างศักยภาพเชิงพื้นที่เหมาะสมต่อการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยวและการเกษตร
เช่น น้ำพุร้อนสันกำแพงถ้ำเมืองออน ถ้ำเวียงฟ้า